ในช่วงระยะฤดูหนาวที่หนาวที่สุดในรอบสี่สิบห้าปี เส้นทางคมนาคมระหว่างหมู่บ้านในชนบทของอังกฤษถูกตัดขาดเพราะหิมะ น้ำในแม่น้ำเทมส์กลายเป็นน้ำแข็ง รถไฟสายกลาสโกลว์-ลอนดอนถึงอุสตัน ช้ากว่ากำหนดถึงยี่สิบสี่ชั่วโมง หิมะที่ตกลงมาจนหนาและการพรางไฟ ทำให้การคมนาคมทางรถยนต์ต้องเสี่ยงต่ออันตราย จำนวนอุบัติเหตุทางรถยนต์เพิ่มสูงอีกเท่าตัว จนมีผู้พูดตลกว่า การขับรถยนต์ไปตามถนนพิคาดิลลี่ในตอนกลางคืนอันตรายยิ่งกว่าขับรถถังข้ามแนวรบซิกฟริดของเยอรมัน
พอถึงฤดูใบไม้ผลิ อากาศเริ่มอบอุ่น ทางราชการปล่อยบอลลูนกีดขวางเครื่องบินข้าศึกเหนือท้องฟ้าสีคราม ทหารที่ได้รับอนุญาตให้ลาพัก เดินหยอกล้อกับหญิงสาวไปตามถนนสายต่างๆ ของนครลอนดอน
แม้นครลอนดอนจะไม่เหมือนเมืองหลวงที่อยู่ระหว่างสงคราม แต่ก็มีหลายสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงสงครามเฮนรี่ เฟเบอร์ ขี่จักรยานผ่านสถานีรถไฟวอเตอลู มุ่งหน้าไปยังไฮเกท เขาสังเกตเห็นกองกระสอบทรายที่กองอยู่หน้าสถานที่ราชการสำคัญๆ ที่หลับภัยในแถบชานเมืองประกาศของทางราชการที่แนะนำเรื่องการอพยพและเตือนเรื่องการหลบภัยทางอากาศปิดไว้ตามที่ต่างๆ เฟเบอร์มุ่งสังเกตสิ่งเหล่านี้เป็นพิเศษมากกว่าคนงานรถไฟทั่วไป เมื่อเขาเห็นเด็กๆ ที่กำลังวิ่งเล่นในสวนสาธารณะ เขานึกในใจว่า ถ้าเกิดภัยทางอากาศคงจะอพยพเด็กหนีไม่ทัน เขาสังเกตจำนวนรถยนต์ ซึ่งได้รับการปันส่วนน้ำมัน และรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ผลิตจากโรงงานตามท้องถนน เขารู้ถึงเหตุผลที่คนงานต้องทำงานในผลัดกลางคืน ทั้งๆที่ก่อนหน้าเพียงไม่กี่เดือน คนหางานทำแทบจะไม่ได้ ที่สำคัญก็คือจากแผนกที่เขาทำงาน ซึ่งทำให้เขาสามารถทราบความเคลื่อนไหวทางทหาร เช่น ในวันนี้เขาได้ประทับตราในเอกสารที่แสดงว่ามีการส่งทหารไปฟินแลนด์
ยังมีสัญญาณอีกหลายอย่างดูเหมือนคล้ายกับว่า เป็นเรื่องเล่นๆนั่นคือ ข่าววิทยุกระจายเสียงที่ชี้แจงข้อกำหนดในเวลาสงครามประชาชนร้องเพลงปลอบใจตามหลุมหลบภัยทางอากาศ ผู้หญิงสวมเครื่องป้องกันแก๊สพิษ ประชาชนพูดถึงสงคราม และสัญญาณเตือนภัยทางอากาศที่ไม่ปรากฏเครื่องบินข้าศึก
เฟเบอร์มองเรื่องเหล่านี้ออกไปอีกแง่หนึ่ง เพราะเขาเป็นคนอยู่ในฐานะที่ต่างจากคนทั่วๆ ไป
เฟเบอร์ขี่จักรยานไปตามถนนอาร์คเวย์ เมื่อถึงเนินเขา เฟเบอร์โยกตัวออกแรงปั่นจักรยานเร็วจี๋ ราวกับลูกสูบรถไฟ เขารูปร่างแข็งแรงเหมาะกับวัยสามสิบเก้า แต่อายุที่ว่านี้ไม่ใช่อายุจริง เขาจะโกหกทุกอย่างเพื่อความปลอดภัยของเขาเอง
ขณะที่ขี่จักรยานขึ้นเนินเขาไปที่ไฮเกท เฟเบอร์เหงื่อออกท่วมตัว อาคารที่เขาพักเป็นตึกที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของลอนดอนซึ่งเป็นเหตุผลที่เขาเลือกพักที่ตึกนี้ ตึกที่เขาพักสร้างในสมัยวิคตอเรียก่อด้วยอิฐ เป็นตึกหลังหนึ่งในจำนวนหกหลังซึ่งสร้างเรียงเป็นแถว อาคารเหล่านี้สูงสามชั้นมีลักษณะมืดทึบและแคบ ชั้นล่างสุดมีทางเข้าออกของคนใช้ คนอังกฤษในสมัยกลางถือว่า เจ้าของบ้านกับคนใช้จะต้องเข้าออกคนละทาง ถึงแม้ไม่มีคนใช้ ก็จะต้องมีสร้างทางเข้าออกคนละทาง ถึงแม้ไม่มีคนใช้ ก็จะต้องมีสร้างทางเข้าออกไว้อย่างนั้น เฟเบอร์นึกหัวเราะเยาะคนอังกฤษอยู่ในใจ
แรกทีเดียว ฮาโรลด์ การ์เด้น เป็นเจ้าของตึกหลังที่หก เขาเคยเป็นเจ้าของกิจการค้า แต่ต้องล้มละลายเพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เขาไม่มีทางเลือกอื่น จึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย ทิ้งให้ภรรยาม่ายดูแลตึกหลังนี้ ห้องพักของเฟเบอร์อยู่ชั้นบนสุด ตั้งแต่วันจันทร์ึถึงวันศุกร์ เขาจะพักอยู่ที่นี่ ส่วนวันเสาร์กับวันอาทิตย์ เขาบอกนางการ์เด้นว่าเขาต้องไปเยี่ยมแม่ที่ อีริธ แต่ที่จริงแล้วเขาไปพักอยู่ที่บ้าน อีกแห่งหนึ่งที่แพลคฮีท ในนามของเบเกอร์ ซึ่งทำงานเป็นคนเดินตลาดที่ต้องเดินทางไปขายเครื่องเขียนตามเมืองต่างๆ
เขาขี่จักรยานไปตามทางเล็กๆ ในสวนแล้วจอดจักรยานไว้ที่ห้องเก็บของใส่กุญแจล่ามรถจักรยานติดกับเครื่องตัดหญ้า เพราะการจอดรถจักรยานโดยไม่ได้ใส่กุญแจถือว่าเป็นความผิด เฟเบอร์เดินเข้าไปในบ้าน ถอดหมวกแขวนไว้ ไปล้างมือแล้วเข้าไปร่วมโต๊ะดื่มน้ำชา
ผู้ที่พักอยู่ในตึกหลังนี้ สามคนกำลังดื่มน้ำชา คนหนึ่งเป็นเด็กหนุ่มจากยอร์คเชียร์ที่ำกำลังสมัครเป็นทหารอีกคนหนึ่งเป็นเซลล์แมนขายลูกกวาด และคนที่สามเป็นนายทหารเรือที่ปลดจากประจำการ เฟเบอร์ก้มศีรษะทักทายและนั่งร่วมโต๊ะ
คนที่เป็นเซลล์แมนกำลังเล่าเรื่องตลกถึงตอนที่ว่า "ผู้บังคับฝูกทักว่า คุณนี่กลับมาเร็วจริง นักบินตอบเขาว่า ผมทิ้งใบปลิวทั้งมัดเลย ดีมั้ยครับ? ผู้บังคับฝูงร้องขึ้นด้วยความตกใจว่า ตายแล้ว เดี๋ยวหล่นใส่หัวใครแตกเข้าละก็ฉิบ "
นายทหารเรือหัวเราะ เฟเบอร์อมยิ้ม นางการ์เด้นถือกาน้ำชาเข้ามา "สวัสดีค่ะ คุณเฟเบอร์ เราลงมือกันก่อน คุณคงไม่ว่านะคะ"
นางการ์เด้นเปิดวิทยุฟัง มีเสียงคลื่นรบกวนอยู่ครู่หนึ่งและมีเสียงโฆษกประกาศ "ที่นี่สถานีวิทยุบีบีซี ต่อไปนี้เป็นรายการพิเศษ"
เฟเบอร์เคยฟังราย
9:08 PM |
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment